ขั้นตอนการคัดเลือกโครงการ
มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา กำหนดหลักเกณฑ์ เพื่อคัดเลือกพื้นที่โครงการที่มีเหมาะสมและมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางหลวง รองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ระยะ 20 ปี และคัดเลือกโครงการไปศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดทำแบบแนวคิดเบื้องต้น (Conceptual Design) ต่อไป
การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
การศึกษาและรวบรวมโครงการ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ
รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ข้อมูลทั่วไปของจุดผ่านแดน ข้อมูลด้านศักยภาพของจุดผ่านแดนแผนการพัฒนาและยกระดับจุดผ่านแดน ข้อมูลโครงข่ายคมนาคมบริเวณจุดผ่านแดนไทย และประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน แผนการพัฒนาโครงการด้านคมนาคมต่าง ๆ และแผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้ประกอบการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่โครงการและการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสม มีศักยภาพในการพัฒนา
การศึกษาและรวบรวมโครงการ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ
รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่น ข้อมูลทั่วไปของจุดผ่านแดน ข้อมูลด้านศักยภาพของจุดผ่านแดนแผนการพัฒนาและยกระดับจุดผ่านแดน ข้อมูลโครงข่ายคมนาคมบริเวณจุดผ่านแดนไทย และประเทศเพื่อนบ้านในปัจจุบัน แผนการพัฒนาโครงการด้านคมนาคมต่าง ๆ และแผนยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้ประกอบการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่โครงการและการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสม มีศักยภาพในการพัฒนา
การคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ (Long List)
เพื่อคัดกรองพื้นที่จุดผ่านแดนและจัดบัญชีพื้นที่โครงการที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ (Long List)
การคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ (Long List)
เพื่อคัดกรองพื้นที่จุดผ่านแดนและจัดบัญชีพื้นที่โครงการที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ (Long List)
การคัดเลือกพื้นที่โครงการที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ในลำดับต้น ๆ ไม่น้อยกว่า 20 พื้นที่โครงการ ระยะทางรวมไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตร (Short List)
เพื่อคัดเลือกพื้นที่โครงการที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ในลำดับต้น ๆ เพื่อจัดทำเป็นโครงการทางหลวงแนวใหม่ (Short List) โดยพิจารณาจากความสำคัญของโครงการในด้านต่าง ๆ ได้แก่
(1) ด้านความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนงาน
(2) ด้านศักยภาพของจุดผ่านแดน
(3) ด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม
(4) ด้านการขนส่งและจราจร
เพื่อนำไปศึกษาความเหมาะสมฯ และจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ระยะ 20 ปีระยะ 20 ปี รวมถึงการจัดทำแบบแนวคิดเบื้องต้น (Conceptual Design)
การคัดเลือกพื้นที่โครงการที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ในลำดับต้น ๆ ไม่น้อยกว่า 20 พื้นที่โครงการ ระยะทางรวมไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตร (Short List)
เพื่อคัดเลือกพื้นที่โครงการที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ในลำดับต้น ๆ เพื่อจัดทำเป็นโครงการทางหลวงแนวใหม่ (Short List) โดยพิจารณาจากความสำคัญของโครงการในด้านต่าง ๆ ได้แก่
(1) ด้านความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนงาน
(2) ด้านศักยภาพของจุดผ่านแดน
(3) ด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม
(4) ด้านการขนส่งและจราจร
เพื่อนำไปศึกษาความเหมาะสมฯ และจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงรองรับการเชื่อมต่อประตูการค้าระหว่างประเทศ ระยะ 20 ปีระยะ 20 ปี รวมถึงการจัดทำแบบแนวคิดเบื้องต้น (Conceptual Design)